ข่าวประชาสัมพันธ์

รมว.ดีอีเอส เปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center)
รมว.ดีอีเอส เปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) จับมือศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) (ศปอส.ตร.) ระดมทุกกลยุทธ์หนุนคนไทยรู้เท่าทันสื่อลวง

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) ภายใน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถ.แจ้งวัฒนะ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานเปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) โดยมี ผู้บริหารกระทรวง ดีอีเอส ศปอส.ตร. และ น..สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัด ดีอีเอส ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหชน) ร่วมในการแถลงข่าว

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า กระทรวงดีอีเอส เปิดตัวศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) วันนี้ (1 พ.ย. 62) เน้นข่าวที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง กระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชน คาดหวังให้เกิดการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเผยแพร่ต่ออย่างรู้เท่าทันสื่อ

กระทรวงดีอีเอส ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลให้ดูแล กลั่นกรอง ตรวจสอบ หรือกำจัดข่าวปลอม เน้นว่าเป็นข่าวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง และจะมีการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในข่าวที่ถูกต้อง เพื่อประชาชนทุกคนให้เข้าใจ และรู้เท่าทันว่าข่าวไหนปลอมข่าวไหนจริง ทั้งนี้ กระทรวงดีอีเอส จะใช้กลไกการขับเคลื่อนโดย คณะกรรมการประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอมที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินประชาชน ที่จะมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ สื่อมวลชน ทำหน้าที่ วางแผน กำกับ การดำเนินงาน และแผนการเผยแพร่ตามขั้นตอนการพิจารณาข่าวปลอม การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารออนไลน์ ข่าวที่เป็นกระแสโลกโซเชียล อย่างรู้เท่าทันของภาครัฐ

โดยเฉพาะข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคมตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์ต่อประเทศ และสิ่งที่สำคัญยึด code-of-principles ประกอบด้วย ความเที่ยงธรรมและความปราศจากอคติในการคัดเลือกข่าว ความเป็นส่วนบุคคลกับสิทธิเสรีภาพของการนำเสนอข่าว การขัดกันด้านผลประโยชน์ และผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง ให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายที่ถูกพาดพิงและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเท่าเทียมกัน สามารถอธิบายกระบวนการการพิสูจน์ การตรวจสอบ แหล่งที่มาของบทความและข้อเท็จจริงต่างๆ ได้ มีความรู้เกี่ยวกับข่าวนั้น ๆ ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ และโปร่งใส เป็นหน่วยงานที่อิสระ ไม่ขึ้นต่ออิทธิพลของหน่วยงานหรือองค์กรใดๆ


ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) มีหน้าที่หลักในมีการติดตาม ตรวจสอบ ข้อมูลที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์และระบบอินเทอร์เน็ต พร้อมวิเคราะห์แนวโน้ม และบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นข่าวปลอม ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อมูล ผลิตข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งจัดส่งข้อมูลต่อหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเรื่องประกอบการดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ และข้อสำคัญขั้นตอนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อประชาชน และสาธารณชน จะผ่านกลไกภาคสื่อสารมวลชน อาทิ เช่น สำนักข่าวไทย สมาคมนักข่าว หรือสื่อหน่วยงานอื่นๆ เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นต้น

ทั้งนี้ ข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคมตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์ต่อประเทศ หลัก ๆ จะมี 4 กลุ่ม คือข่าวกลุ่มภัยพิบัติ (น้ำท่วม แผ่นดินไหว เขื่อนแตก สึนามิ ไฟไหม้) ข่าวกลุ่มเศรษฐกิจ การเงินการธนาคาร/หุ้น ข่าวกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่น และข่าวกลุ่มนโยบายรัฐบาล /ข่าวสารทางราชการ/ความสงบเรียบร้อยของสังคม/ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์

ทีโอที รับรางวัล Digital Government Awards 2019 สนับสนุนนโยบายรัฐบาล ตามโครงการยกเลิกสำเนาเอกสารราชการ
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

ทีโอที ก้าวสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ โชว์เทคโนโลยีล้ำสมัย “TOT 360° CONNECT” ในงาน Digital Thailand Big Bang 2019
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

กสธ. ผนึกเครือข่าย “พลิกโฉมระบบสุขภาพปฐมภูมิด้วยดิจิทัล” ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษาและจัดทำต้นแบบ (Prototype) ระบบยืนยันตัวตนดิจิทัล (Digital ID) และ Health Information Exchange (HIE) Platform
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

รมว.ดีอีเอส เปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center)
รมว.ดีอีเอส เปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) จับมือศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) (ศปอส.ตร.) ระดมทุกกลยุทธ์หนุนคนไทยรู้เท่าทันสื่อลวง

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) ภายใน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถ.แจ้งวัฒนะ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานเปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) โดยมี ผู้บริหารกระทรวง ดีอีเอส ศปอส.ตร. และ น..สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัด ดีอีเอส ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหชน) ร่วมในการแถลงข่าว

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า กระทรวงดีอีเอส เปิดตัวศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) วันนี้ (1 พ.ย. 62) เน้นข่าวที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง กระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชน คาดหวังให้เกิดการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเผยแพร่ต่ออย่างรู้เท่าทันสื่อ

กระทรวงดีอีเอส ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลให้ดูแล กลั่นกรอง ตรวจสอบ หรือกำจัดข่าวปลอม เน้นว่าเป็นข่าวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง และจะมีการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในข่าวที่ถูกต้อง เพื่อประชาชนทุกคนให้เข้าใจ และรู้เท่าทันว่าข่าวไหนปลอมข่าวไหนจริง ทั้งนี้ กระทรวงดีอีเอส จะใช้กลไกการขับเคลื่อนโดย คณะกรรมการประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอมที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินประชาชน ที่จะมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ สื่อมวลชน ทำหน้าที่ วางแผน กำกับ การดำเนินงาน และแผนการเผยแพร่ตามขั้นตอนการพิจารณาข่าวปลอม การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารออนไลน์ ข่าวที่เป็นกระแสโลกโซเชียล อย่างรู้เท่าทันของภาครัฐ

โดยเฉพาะข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคมตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์ต่อประเทศ และสิ่งที่สำคัญยึด code-of-principles ประกอบด้วย ความเที่ยงธรรมและความปราศจากอคติในการคัดเลือกข่าว ความเป็นส่วนบุคคลกับสิทธิเสรีภาพของการนำเสนอข่าว การขัดกันด้านผลประโยชน์ และผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง ให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายที่ถูกพาดพิงและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเท่าเทียมกัน สามารถอธิบายกระบวนการการพิสูจน์ การตรวจสอบ แหล่งที่มาของบทความและข้อเท็จจริงต่างๆ ได้ มีความรู้เกี่ยวกับข่าวนั้น ๆ ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ และโปร่งใส เป็นหน่วยงานที่อิสระ ไม่ขึ้นต่ออิทธิพลของหน่วยงานหรือองค์กรใดๆ


ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) มีหน้าที่หลักในมีการติดตาม ตรวจสอบ ข้อมูลที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์และระบบอินเทอร์เน็ต พร้อมวิเคราะห์แนวโน้ม และบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นข่าวปลอม ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อมูล ผลิตข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งจัดส่งข้อมูลต่อหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเรื่องประกอบการดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ และข้อสำคัญขั้นตอนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อประชาชน และสาธารณชน จะผ่านกลไกภาคสื่อสารมวลชน อาทิ เช่น สำนักข่าวไทย สมาคมนักข่าว หรือสื่อหน่วยงานอื่นๆ เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นต้น

ทั้งนี้ ข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคมตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์ต่อประเทศ หลัก ๆ จะมี 4 กลุ่ม คือข่าวกลุ่มภัยพิบัติ (น้ำท่วม แผ่นดินไหว เขื่อนแตก สึนามิ ไฟไหม้) ข่าวกลุ่มเศรษฐกิจ การเงินการธนาคาร/หุ้น ข่าวกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่น และข่าวกลุ่มนโยบายรัฐบาล /ข่าวสารทางราชการ/ความสงบเรียบร้อยของสังคม/ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์

ทีโอที รับรางวัล Digital Government Awards 2019 สนับสนุนนโยบายรัฐบาล ตามโครงการยกเลิกสำเนาเอกสารราชการ
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

ทีโอที ก้าวสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ โชว์เทคโนโลยีล้ำสมัย “TOT 360° CONNECT” ในงาน Digital Thailand Big Bang 2019
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

กสธ. ผนึกเครือข่าย “พลิกโฉมระบบสุขภาพปฐมภูมิด้วยดิจิทัล” ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษาและจัดทำต้นแบบ (Prototype) ระบบยืนยันตัวตนดิจิทัล (Digital ID) และ Health Information Exchange (HIE) Platform
อ่านต่อ